เตรียมเฮ สทศ. เสนอลดสอบโอเน็ต เหลือ 5 วิชาหลัก
น้องๆ นักเรียนเตรียมเฮ สทศ. เสนอลดสอบโอเน็ต เหลือ 5 วิชาหลัก จาก 8 กลุ่มสาระวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา ซึ่งถือเป็นการปรับลดและเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เนื่องจากทางโรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกข้อสอบโอเน็ตด้วย
เตรียมเฮ สทศ. เสนอลดสอบโอเน็ต เหลือ 5 วิชาหลัก
สทศ. เสนอ รมว.ศึกษาธิการ ควรจะปรับลดการสอบโอเน็ต O-Net
จากเดิมทั้งหมด 8 กลุ่มสาระวิชา เหลือ 5 กลุ่มสาระวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา โดย สทศ.จะเป็นผู้ออกข้อสอบตามเดิม ส่วนกลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษา จะแบ่งการสอบเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกเป็นการวัดความรู้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ความจำ และความคิดสร้างสรรค์ ข้อสอบเป็นแนววิเคราะห์ ไม่ใช่การถามความจำ ซึ่ง สทศ.เป็นผู้ออกข้อสอบ ส่วนที่ 2 เป็นการสอบภาคปฏิบัติวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศาสนาวัฒนธรรม ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องใช้ทักษะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ จึงให้โรงเรียนออกข้อสอบเอง การปรับลดในครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะโรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกข้อสอบโอเน็ตด้วย ขณะนี้ สทศ.ได้เสนอเรื่องดังกล่าวให้ พล.ร.อ.ณรงค์พิจารณาแล้ว คาดว่าจะนำเข้าที่ประชุมกระทรวงศึกษาธิการในครั้งต่อไป หากที่ประชุมเห็นชอบก็สามารถดำเนินการได้ทันที
แต่ว่าการปรับลดการสอบโอเน็ต O-Net ครั้งนี้ โดยเฉพาะการสอบโอเน็ตชั้น ม.6 จะต้องรอการหารือจากทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ.ก่อน เพราะ ทปอ.จะนำผลสอบโอเน็ตทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชา เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือแอดมิชชั่นกลาง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 หากปรับลดเหลือ 5 กลุ่มสาระวิชา คะแนนจะไม่ถึงตามที่กำหนดไว้ จึงต้องไปหารือกับ ทปอ.ด้วยว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการปรับลดครั้งนี้ และหากเห็นด้วยก็จะต้องประกาศล่วงหน้า 3 ปี เพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อม
ล่าสุด 2 ก.พ. ทางด้าน ทปอ.
จะมีการหารือเรื่องนี้กันในที่ประชุม เพื่อวิเคราะห์ถึงผลดีผลเสียของการลดการสอบโอเน็ต เนื่องจากคะแนนโอเน็ตเป็นส่วนหนึ่งของการสอบแอดมิชชั่น ซึ่งคะแนนที่แตกต่างกันเพียง 1-2 คะแนน ก็มีผลอย่างมากต่อลำดับคณะที่นักเรียนเลือก ดังนั้น ผู้ออกข้อสอบจะต้องมีความเป็นกลาง ทปอ.จึงได้มอบหมายให้ สทศ.เป็นผู้จัดสอบโอเน็ต ทั้ง 8 กลุ่มสาระ แต่ในอนาคต หากมีนโยบายให้ โรงเรียนร่วมออกข้อสอบและให้คะแนนกลุ่มสังคมศึกษาฯ ด้วย ก็อาจเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ และสังคมก็จะตั้งคำถามถึงความเป็นธรรมในการให้คะแนนผู้มีอำนาจในการตัดสินของกระทรวงศึกษาธิการ อาจไม่รู้ว่า คะแนนโอเน็ต นอกจากจะใช้เพื่อการเรียนจบชั้นม.6 แล้ว ยังใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยด้วย ที่สำคัญ ทปอ.คำนึงถึงความเป็นธรรมมากที่สุด ดังนั้นการให้โรงเรียนออกข้อสอบและให้คะแนนเอง จะเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ เรื่องลดการสอบโอเน็ต จะต้องมีการเจรจากัน สอบถามความคิดเห็นของอธิการบดีทุกแห่งก่อนตัดสินใจ ซึ่งก็ต้องคอยติดตามกันต่อนะคะว่า การพิจารณา ลดสอบโอเน็ต เหลือ 5 วิชาหลัก จะได้รับการอนุมัติหรือไม่
นอกจากนี้ การทดสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ประจำปีการศึกษา 2557
ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา จะประกาศผลสอบวันที่ 15 มีนาคม และมัธยมศึกษาปีที่ 3 สอบวันที่ 31 มกราคม และ 1 กุมภาพันธ์ ประกาศผลสอบวันที่ 16 มีนาคม ซึ่งปีนี้มีนักเรียนป. 6 มีสิทธิ์สอบทั้งหมด 795,372 คน ม.3 จำนวน 717,962 คน
โดยในวันแรกระดับชั้นป.6 สอบทั้งหมด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา และพลศึกษา ศิลปะ และการงานอาชีพและเทคโนโลยี ส่วนม.3 สอบ 3 กลุ่มสาระฯ คือ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการ หรือ ศธ. ตั้งเป้าว่าในปีการศึกษา 2561 คะแนนการโอเน็ตใน 5 วิชาหลักจะต้องไม่ต่ำกว่า 50% แต่ขณะนี้คะแนนภาพรวมยังไม่ถึง30% เชื่อว่าการเพิ่มคะแนนโอเน็ตคงไม่สามารถเพิ่มถึง 50% ได้ทันที ต้องพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ไม่ควรไปปรับลดเป้าหมาย และควรตั้งมาตรฐานให้สูง เพราะประเทศที่มีการพัฒนาด้านการศึกษาที่ดีจะตั้งเป้าหมายให้สูง และพยายามก้าวไปถึงจุดนั้นให้ได้
ข้อมูล thairath, bangkokbiznews
No comments:
Post a Comment